ตามปกติร้านค้าทั่วไปล้วนต้องมีป้ายชื่อหน้าร้านเพื่อให้ลูกค้าสามารถจดจำได้ว่าร้านนั้นๆมีชื่อว่าอะไร ในยุคปัจจุบันนี้เราจะเห็นทั้งป้ายที่ทำจากวัสดุชั้นดีไปจนถึงวัสดุราคาถูกอย่างป้ายผ้าหรือไวนีลซึ่งใช้กันเกลื่อนกลาดเพราะคนส่วนมากอาจคำนึงถึงราคาและประโยชน์แค่ป้ายเท่านั้น แต่ในยุคหนึ่ง ใครจะรู้ว่าการทำป้ายร้านค้านั้นถือเป็นเรื่องสำคัญและมีราคาแพงมากเพราะแสดงถึงความตั้งใจในการเปิดกิจการร้านค้าเพราะเจ้าของกล้าลงทุนทำป้ายให้สวยงาม หรูหราและน่าเชื่อถือ อาจถือได้ว่าเป็นศาสตร์อย่างหนึ่งที่ในปัจจุบันเราจะคุ้นเคยกันในชื่อว่า กราฟิก หรือ เรขศิลป์ และช่างฝีมือที่ทำรับทำเรื่องพวกนี้ในยุคนั้นก็ถือว่าเป็นที่ต้องการมากเพราะน้อยคนที่จะทำป้ายร้านให้ได้สวยงาม ดูดีและสร้างความเชื่อถือให้แก่ร้านค้า บางครั้งอาจต้องเดินทางข้ามจังหวัดเพื่อไปจ้างช่างทำป้ายรวมถึงรอคิวนานเป็นเดือนๆกันเลยทีเดียว
อ่านมาถึงตรงนี้ หลายคนอาจบอกว่าป้ายสวยแล้วไง ที่ไหนๆก็มีป้ายแบบนี้แล้วมันน่าสนใจตรงไหน ใช่แล้ว ป้ายร้านที่ลำปางมีอะไรที่ไม่ธรรมดาแน่นอน…
โชคดีที่ในยุคหนึ่งลำปางเคยเป็นเมืองที่เฟื่องฟูทางเศรษฐกิจมากและเมื่อเป็นเช่นนั้น ร้านค้าในตัวเมืองมากมายต่างก็ต้องการป้ายร้านสวยๆของตนเองเพื่อดึงดูดลูกค้าและส่งผลต่อยอดขายของตนเอง นั่นทำให้ช่างทำป้ายฝีมือเอกอย่าง ช่าง ป.หรือ ปวน สุวรรณสิงห์ มีโอกาสได้สร้างสรรค์ป้ายที่เป็นมากกว่าป้ายร้านจำนวนมากมายทั่วเมืองลำปาง เอกลักษณ์ของป้าย ป.สุวรรณสิงห์นั้นคือ การทำป้ายไม้สักอย่างดีโดยใช้รูปแบบตัวอักษรที่ออกแบบแทบจะใหม่หมดเพื่อให้ตรงกับคุณลักษณะ กิจการหรือชื่อของร้านค้านั้นๆ เพื่อสร้างความแตกต่างซึ่งไม่ใช่เรื่องที่ใครๆก็ทำได้ จากนั้นลงสีป้ายด้วยสีอย่างดี (ส่วนใหญ่สีพื้นที่นิยมจะเป็นสีเขียว สีดำ สีแดงและอาจมีการแรเงาด้านข้างพร้อมทั้งทาทองบริเวณด้านหน้า) ซึ่งจะทำให้ป้ายนั้นๆคงสภาพได้นานนับสิบปีหรือนานกว่านั้น และสิ้นสุดกระบวนการด้วยการลงลายเซ็น ป.สุวรรณสิงห์ เพื่อบอกว่าป้ายที่สวยงามและตั้งใจสร้างสรรค์นี้พร้อมแล้วสำหรับการนำไปติดหน้าร้านเสมือนการสร้างงานศิลป์ชิ้นเอกหรือ Masterpiece ที่ไม่เหมือนใคร ซึ่งไปๆมาๆป้ายเลยไม่ได้จำกัดอยู่แค่ป้ายร้านค้า แต่รวมไปถึงป้ายของวัดวาอาราม อาคาร สถานที่ราชการต่างๆมากมาย ซึ่งถ้าเราท่องเที่ยวไปในตัวเมือง เราอาจได้เห็นป้ายบางวัดที่สวยงามแปลกตาและมีเอกลักษณ์เป็นของตนเอง
สำหรับประวัตินั้น ปวน สุวรรณสิงห์ หรือ ป. สุวรรณสิงห์ เกิดเมื่อ พศ. 2440 และจากไปเมื่อวันที่ 17 เมษายน 2508 รวมอายุ 68 ปี เป็นชาวลำปางที่เคยมีโอกาสได้เรียนรู้ด้านศิลปะตามแบบสยามจากการเคยเป็นลูกศิษย์ของมหาเสวกตรี พระยาอนุศาสน์จิตรกร ( ช่างหลวงและช่างภาพประจำพระองค์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวที่ได้รับการแต่งตั้งมาควบคุมงานที่ลำปาง ) และร่วมวาดภาพเขียนฝาผนังในอุโบสถหลังใหม่ (ซึ่งสร้างใหม่ตามแบบสยาม) ของวัดบุญวาทย์วิหาร ซึ่งต่อมาในช่วงแรก ป. สุวรรณสิงห์ จึงมีผลงานเขียนภาพจิตรกรรมฝาผนังตามวัดต่างๆ ของลำปางอีกหลายวัด เช่น พระอุโบสถวัดเกาะวาลุการาม พระวิหารวัดสุชาดาราม พระอุโบสถวัดน้ำล้อม พระอุโบสถวัดช้างเผือก จนต่อมาภายหลังได้ผันตัวมาเป็นช่างทำป้ายร้านค้า อาคารสถานที่ตลอดจนวัดต่างๆแทน
สำหรับนักท่องเที่ยวที่มาลำปางและสนใจศึกษาในเรื่องนี้ ควรหาเวลาเดินชมป้ายร้านสวยๆฝีมือของครูปวน ได้ในย่านตลาดใจกลางเมือง เช่น ตลาดบริบูรณ์ กาดกองต้า ตลาดราชวงศ์ที่มีป้ายของร้านค้ามากมายให้ได้ชม และหากมีโอกาส ในวันที่อากาศเย็นสบาย การเดินดูป้ายในระยะทางที่ไกลกว่าปกติไปยังพื้นที่ต่างๆนอกเหนือจากบริเวณใจกลางเมืองเช่น ถนนบุญวาทย์และถนนรอบเวียงทั้งสายก็ถือว่าน่าสนใจไม่น้อย เพราะป้ายแต่ละป้ายนั้นมีสไตล์และรูปแบบตัวอักษรที่น่าตื่นตาตื่นใจโดยเฉพาะผู้ที่ชื่นชอบงานออกแบบกราฟิกและตัวอักษรไทย
Lorem ipsum dolor sit amet, consectetur adipiscing elit. Suspendisse id mattis augue. Proin eget imperdiet nulla. Pellentesque convallis dolor suscipit, ullamcorper mauris vel, maximus ante. Maecenas id rhoncus dolor. Ut eget tortor sem. In feugiat fermentum mollis. Quisque id lacus et velit convallis gravida ut sit amet ipsum. Quisque vitae urna scelerisque, iaculis nisi nec, aliquam quam. Nulla at commodo dui. Vivamus id elementum quam. Suspendisse sagittis hendrerit bibendum. Nullam imperdiet, dui in sollicitudin feugiat, est justo finibus elit, mattis rhoncus ligula quam sed risus. Nunc cursus turpis sed leo laoreet accumsan. Suspendisse porttitor, arcu a pharetra condimentum, sem justo feugiat risus, sed laoreet dolor dolor dictum velit.
Morbi cursus erat sit amet mauris tempor convallis. Mauris fermentum mauris velit, tempor pretium mi pulvinar eu. In lobortis rutrum porta. Mauris vitae mollis odio. Pellentesque sodales pulvinar tristique. Nullam vel suscipit erat. Duis bibendum consectetur pretium. Donec commodo orci quis tincidunt viverra.
Leave A Comment